CAT

CAT

กิจกรรม 22 - 26 พฤศจิกายน 2553 90 คะแนน

กิจกรรม 22 - 26 พฤศจิกายน 2553 90 คะแนน





คำอธิบายข้อมูล ::  มิวเทชันหรือ การ กลายพันธุ์หมายถึงการเปลี่ยนแปลงลักษณะพันธุกรรมและลักษณะที่เปลี่ยนแปลง สามารถจะถ่ายทอดจากชั่วอายุหนึ่งได้  แบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ
1.มิวเทชันระดับโครโมโซม(chromosome mutation)คือการกลายพันธุ์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครโมโซม  อาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมหรือการเปลี่ยนแปลงจำนวน โครโมโซม
2. มิวเทชันระดับยีน(gene mutation หรือpoint mutation)คือการเปลี่ยนแปลงจากยีนหนึ่งไปเป็นอีกยีนหนึ่งซึ่งป็นผลจากการ เปลี่ยนแปลงนิวคลีโอไทด์ในโมเลกุลของดีเอ็นเอ




คำอธิบายข้อมูล :: GMOย่อมาจากGeneticallyModifiedOrganismหมายถึงจุลินทรีย์พืชและสัตว์ที่มีการเปลี่ยนแปลงสารพันธุกรรมโดยใช้เทคนิคทางพันธุวิศวกรรมคือมีการตัดต่อและปลูกถ่ายยีนจากสิ่งมีชีวิตหนึ่งไปสู่สิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งหรือชนิดเดียวกันและยีนที่ถูกถ่าย
ทอดไปนั้นสามารถทำงานสร้างโปรตีนได้เช่นเดิม ดังนั้นการถ่ายยีนจึงทำให้สิ่งมีชีวิตที่ได้รับยีนนั้นเข้าไปสามารถแสดงลักษณะใหม่ที่ไม่เคยมี
มาก่อนได้ พืชที่ได้รับการถ่ายยีนเข้าไป เรียกว่า พืชตัดต่อยีน (Transgenic plant) และสัตว์ที่ได้รับการถ่ายยีนเข้าไปเรียกว่า สัตว์ตัดต่อยีน
(Transgenic animal) ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันประสบความสำเร็จอย่างมากในพืช (Transgenic plant) แต่ยังสามารถทำได้อย่าง
จำกัดใน สัตว์ (Transgenic animal)
ที่มาของข้อมูล :: http://rdi.ku.ac.th/GMOS/GMOs1/index2/index1_1.htm 




คำอธิบายข้อมูล :: การโคลนนิ่ง (cloning) คือ การคัดลอก (copy) พันธุ์หรือการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ โดยไม่ได้อาศัยการปฎิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมีย แต่ใช้เซลล์ร่างกายในการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้นมาใหม่ (4) ซึ่งมีลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนของเดิมทุกประการ การโคลนนิ่งเกิดอยู่เสมอในธรรมชาติ ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนได้แก่ การเกิดฝาแฝดเพศเดียวกันและหน้าตาเหมือนกัน กระบวนการโคลนนิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ได้นำมาใช้เป็นเวลานานแล้วโดยเราไม่รู้ตัว ได้แก่การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช และตัวอ่อนสัตว์ โดยการแยกเซลล์ ซึ่งทำกันทั่วไปในวงการเกษตร (2)
โคลนนิ่ง เป็นเทคโนโลยีที่นักวิทยาศาสตร์ให้ความสนใจมากว่า 100 ปี โดยในปี พ.ศ. 2445 Hans Spemann ประสบความสำเร็จในการแบ่งแยกเอ็มบริโอของซาลาเมนเดอร์ โดยการใช้เส้นผมผูกไว้จนแยกออกเป็น 2 ส่วน ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 เขาได้วิจัยให้เห็นว่านิวเคลียสจากเอ็มบริโอของซาลาเมนเดอร์ สามารถทำให้ไข่ที่มีเฉพาะไซโตพลาสซึม แบ่งตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้มีการพัฒนาวิธีการโคลนนิ่งโดยใช้นิวเคลียส จากเซลล์ของเอ็มบริโอที่แบ่งตัวแบบทวีคูณเพื่อให้ได้เอ็มบริโอเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นรากฐานในการพัฒนาการโคลนนิ่งในปัจจุบัน (3) ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้มีการทำการโคลนนิ่งแกะโดยใช้เซลล์จากเต้านมของแกะที่โตแล้วเป็นเซลล์ต้นแบบ ได้แกะที่มีชื่อว่า  "ดอลลี่"  ซึ่งแกะดอลลี่นี้สามารถตั้งท้องและให้กำเนิดลูกได้เช่นเดียวกับสัตว์ทั่วไป
ที่มาของข้อมูล :: http://www.stkc.go.th/forum.php?exForumId=30



คำอธิบายข้อมูล ::  เชื้อไวรัสคืออะไร สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในคนเราที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ เชื้อไวรัส ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมาก ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้จากการดูผ่านกล้องจุลทรรศน์ธรรมดาแม้ว่าจะมีกำลังขยายถึง 100 เท่าก็ตาม เชื้อไวรัสต้องดูด้วยกล้องจุลทรรศอิเลคตรอน ซึ่งมีกำลังขยายตั้งแต่ 5,000 เท่าขึ้นไป จึงจะทำให้มองเห็นได้ ตัวไวรัสประกอบด้วยโปรตีนซึ่งเป็นดีเอ็นเอ หรืออาร์เอนเอ อย่างใดอย่างหนึ่งแต่เพียงอย่างเดียวอยู่ในส่วนกลางของตัวไวรัส ซึ่งเป็นตัวแสดงพันธุกรรมของเชื้อไวรัสนั้นๆ และมีเปลือกหุ้มอีกชั้นเป็นสารโปรตีนที่เรียกว่าแคพซิด เซลล์ของเชื้อไวรัสต่างไปจากเซลล์ของคน และสัตว์ที่มีชีวิตอื่นๆ ซึ่งในเซลล์จะมีโปรตีนทั้งสองชนิดเป็นส่วนประกอบอยู่






คำอธิบายข้อมูล :: การติดเชื้อจากแบคทีเรีย Streptococcus ชนิด A นี้ ส่วนมากไม่ร้ายแรง มันมักแค่ทำให้เกิดการเจ็บคอ หรือไม่ปรากฏอาการใดๆ เลย แต่ในคนไข้บางรายแบคทีเรียลึกลับนี้กลับก่อให้เกิดอาการรุนแรงได้ พวกมันจะบุกรุกไปทั่วร่างกาย ทำลายเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อต่างๆ รวมทั้งไตและหัวใจ ในลักษณะทำให้เนื้อเยื่ออักเสบและตายในที่สุด ในคนไข้รายอื่นๆ พบว่ามันทำลายหลอดเลือดจนเป็นรู ทำให้เกิดการรั่วไหลของเลือดและของเหลวต่างๆ และทำให้ความดันเลือดลดลงอย่างรวดเร็ว เรียกว่า toxic shock syndrome และสามารถทำให้เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมง ซึ่งเกิดขึ้นในคนไข้ 20-30% แม้ทำการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะในปริมาณสูงก็ตาม 


ที่มาของข้อมูล :: http://www.vcharkarn.com/vcafe/23406





ตอบ 1
คำอธิบายข้อมูล ::  สายใยอาหาร ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะมีสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิต



ตอบ 1 ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O)
คำอธิบายข้อมูล ::  ก๊าซเรือนกระจกที่มีอยู่ในบรรยากาศโลกตามธรรมชาติ ซึ่งประกอบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) และไนตรัสออกไซด์ (N2O) มีคุณสมบัติดูดกลืนความร้อน ทำให้โลกอบอุ่น และเอื้อให้สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ในโลกได้ แต่กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ โดยเฉพาะหลังยุคปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา มีการใช้พลังงานฟอสซิล (fossil fuel) เช่น น้ำมัน ถ่านหิน มาก การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ ทำให้ก๊าซเรือนกระจกถูกปลดปล่อยออกสู่บรรยากาศในปริมาณมาก บรรยากาศโลกดูดกลืนความร้อนไว้มากขึ้น เกิดภาวะเรือนกระจก หรือโลกร้อน นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศทั่วโลก

ที่มาของข้อมูล :: http://www.ru.ac.th/climate-change/GHG.htm






ตอบ 2
คำอธิบายข้อมูล ::  ระบบนิเวศหนึ่งๆ ประกอบขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในระบบนิเวศหนึ่งๆ มีมากมายหลายชนิด และแต่ละชนิดก็มีจำนวนหลายๆตัว ซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่แตกต่างกันไป ซึ่งอาจกล่าวคร่าวๆ ได้ว่า สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง (species) จะไม่อยู่อย่างโดดเดี่ยว การอยู่รวมกันเป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน บนพื้นที่หนึ่ง ในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั้น จะเรียกว่าเป็นประชากร (population) และถ้าประชากรของสิ่งมีชีวิตหลายๆชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกันในมาตรของเวลา และสถานที่เดียวกัน จะเรียกว่าเป็น กลุ่มสิ่งมีชีวิต หรือสังคมของสิ่งมีชีวิต (Community หรือ Biotic Community) กลุ่มสิ่งมีชีวิตเหล่านี้มีความต้องการปัจจัยต่างๆ ในการดำรงชีวิตที่แตกต่างรวมถึงความต้องการพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย (Habitat) และอาหาร ซึ่งทำให้แต่ละชนิดมีบทบาท ความสำคัญในระบบนิเวศ (Ecological Niche หรือ Niche) แตกต่างกันไป ประชากรที่มีจำนวนสมาชิกมากและมีความสำคัญมาในนิเวศนั้นถูกจัดเป็นสิ่งมีชีวิตเด่น (Dominant species) ประชากรที่มีจำนวนน้อยหรือมีบทบาทความสำคัญน้อยกว่าจะถูกเรียกว่าสิ่งมีชีวิตรอง (Associated species)
จะเห็นได้ว่าในระบบนิเวศหนึ่งๆนั้นประกอบขึ้นจากโครงสร้างเพียง2ส่วนหลักๆเท่านั้นคือ
1.โครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบที่ไม่มีชีวิต (Abiotic Factor หรือ Abiotic Component)
2.โครงสร้างที่เป็นองค์ประกอบที่มีชีวิต(Biotic Factor หรือ Biotic Component)

ที่มาของข้อมูล :: http://light128.exteen.com/20070107/entry-2




ตอบ 2
คำอธิบายข้อมูล :: ปัจจัยทางอ้อมที่ทำให้เกิดดอก / ปัจจัยที่เป็นเหตุให้พืชออกดอกได้นั้นมีหลายอย่างด้วยกันสามารถแยกกล่าวเป็นข้อๆ ดังนี้ / ๑. แสงสว่าง ความเข้มของแสง ช่วงเวลาของแสง และคุณภาพของแสงมีบทบาทต่อการเกิดตาดอกของพืช / ๒. การควั่นกิ่ง การควั่นกิ่ง เป็นการทรมานพืชวิธีหนึ่ง เพื่อตัดท่ออาหาร โดยการควั่นเอาเปลือกออกให้รอบกิ่งหรือลำต้นให้มีรอยแผลแคบๆ หรืออาจใช้เลื่อยธรรมดา เลื่อยให้เป็นรอยเดียวให้ทะลุเปลือกรอบๆ กิ่งหรือต้น หรืออาจใช้ลวดรัดเพื่อไม่ให้ส่วนนั้นขยายตัวออก ก็จะเป็นการตัดทางเดินของอาหารมาสู่ส่วนล่างของรอยแผลได้อาหารและสารบางอย่างที่จำเป็นต่อการเกิดดอกจะสะสมอยู่ส่วนยอดจะช่วยทำให้ต้นไม้ออกดอกได้การทรมานพืชด้วยวิธีสับเปลือกรอบโคนกิ่งหรือต้นก็จะได้ผลคล้ายๆ กัน ในการทำสวนผลไม้เป็นการค้านั้น การทรมานพืชเพื่อให้เกิดดอกนั้นมีความสำคัญน้อยมาก เพราะเป็นวิธีที่ให้ผลไม่แน่นอน และอาจเป็นอันตรายต่อต้นไม้ได้ง่าย ในฮาวายมีการทดลองใช้วิธีควั่นกิ่งเพื่อบังคับให้ลิ้นจี่ออกดอก ปรากฏว่ามีลิ้นจี่พันธุ์ Brewster เท่านั้นที่สนองตอบต่อการควั่นกิ่ง   





ตอบ 2
คำอธิบายข้อมูล ::  หมายถึง สารละลายภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดง มีความเข้มข้นมากกว่าสารละลายภายในเซลล์เม็ดเลือดแดง เป็นผลทำให้น้ำภายในเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสออกนอกเซลล์ เป็นผล
ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเหี่ยวลง ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนเข้าเซลล์เหมือนกันแต่น้อยกว่าออก
ผลจากการที่เซลล์ลดขนาด เหี่ยวลงเนื่องจากเสียน้ำ เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า plasmolysis


 ที่มาของข้อมูล :: http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/45/2/cell/content/osmosis2.html

4 ความคิดเห็น:

  1. 90 คะแนนเต็มค่ะ

    -ภาพรวมสวยงาม

    -เนื้อหาเข้าใจ

    ตอบลบ
  2. มีเนื้อหาครบ

    มีรูปภาพประกอบ

    ให้คะเเนน 90 คะเเนนเต็ม^^

    ตอบลบ
  3. มีเนื้อหาครบ แน่น ดี

    มีรูปภาพประกอบ

    ให้คะเเนน 90 คะเเนนเต็ม^^

    ตอบลบ
  4. ครบ เรียบร้อยดีมาก ค่ะ 90 คะแนน

    ตอบลบ