CAT

CAT

กิจกรรม 8-12 พ.ย.53 คะแนน 70 คะแนน การบ้าน 50 คะแนน

ส่งงาน

1. ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียนจำนวน 20 ข้อ ( 20 คะแนน ) ให้บันทึกข้อที่ถูกต้องลงในสมุดงาน ใช้เวลา 20 นาที

ตอบ  3
อธิบายข้อสอบ :: เซลล์สัตว์โดยทั่วไป ประกอบด้วยออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) นิวคลีโอลัส, (2) นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม, (4) เวสิเคิล, (5) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลจิแอปพาราตัส, (7) ไซโทสเกลเลตอน, (8) เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล, (11) ไซโทพลาซึม, (12) ไลโซโซม, (13) เซนทริโอล

เซลล์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นโพรแคริโอตหรือยูแคริโอตจะต้องมีเยื่อหุ้มเซลล์ (cell membrane) ทำหน้าที่ห่อหุ้มเซลล์เสมอ เพื่อแยกส่วนประกอบภายในเซลล์ออกจากสิ่งแวดล้อม เป็นการควบคุมการขนส่งสารเข้าออกเซลล์ และเพื่อรักษาความต่างศักย์ทางไฟฟ้าของเซลล์ (cell potential) ภายในเยื่อหุ้มเซลล์จะประกอบไปด้วย ไซโทพลาซึมที่มีสภาพเป็นเกลือ และเป็นเนื้อที่ส่วนใหญ่ของเซลล์ ภายในเซลล์จะมี ดีเอ็นเอ หน่วยพันธุกรรมของเซลล์หรือยีน และ อาร์เอ็นเอชึ่งจะมีข้อมูลที่จำเป็นในการถ่ายทอดพันธุกรรม รวมทั้งโปรตีนต่างๆ เช่น เอนไซม์ นอกจากนี้ภายในเซลล์ก็ยังมีสารชีวโมเลกุล (biomolecule) ชนิดต่างๆ อีกมากมาย


ตอบ  4
อธิบายข้อสอบ ::  ในกระบวนการดูดกลับที่ท่อหน่วยไต น้ำและโมเลกุลของสารที่ร่างกายต้องการเช่น กลูโคส และโมเลกุลของสารที่ร่างกายต้องการ เช่น กลูโคส และกรดอะมิโน จะลำเลียงผ่านเซลล์ท่อหน่วยไตกลับเข้าสู่หลอดเลือดฝอย โดยการแพร่ การออสโมซิส และการลำเลียงแบบใช้พลังงาน

ในทำนองเดียวกัน ของเสียจากกระบวนการเมแทบอลิซึม เช่น ยูเรีย รวมทั้งสารที่ร่างกายมีมากเกินความจำเป็นและต้องขับออก เช่น โซเดียมไอออนและคลอไรด์ไอออน จะกลับเข้าสู่กระแสเลือดในปริมาณน้อยมาก โดยจะลำเลียงออกโตไปพร้อมกับปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะ นักเรียนเห็นว่าปริมาณการดูดน้ำกลับที่ท่อหน่วยไตมีความสำคัญต่อการรักษาดุลยภาพของน้ำในร่างกาย อีกทั้งยังเป็นการควบคุมความเข้มข้นของสารหลายชนิดในเลือด
ไฮโพทาลามัส อยู่ทางด้านล่างของสมองส่วนหน้า ที่ยื่นมาติดต่อมใต้สมองบริเวณนี้ ส่วนมากทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนของต่อมใต้สมอง ไฮโพทาลามัสมีหน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย การนอนหลับ การเต้นของหัวใจ ความดันเลือด ความหิว ความอิ่ม การดูดน้ำกลับของร่างกาย และเป็นศูนย์ควบคุมอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ
สมองส่วนไฮโพทาลามัสควบคุมสมดุลของปริมาณน้ำในเลือกถ้าร่างกายขาดน้ำจะทำให้ความดันเลือดลดลงและเลือกเข้มข้นกว่าปกติ การเปลี่ยนแปลงเช่นส่งผลให้กระแสประสาทจากสมองส่วนไฮโพทาลามัสไปกระตุ้นปลายประสาทของต่อมใต้สมองส่วนท้ายให้หลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก ( antidiuretic hormone ) หรือ ADH เข้าสู่กระแสเลือด

ADH ทำหน้าที่กระตุ้นท่อหน่วยไตให้ดูดน้ำกลับสู่หลอดเลือด ทำให้น้ำในเลือดสูงขึ้นและความรู้สึกกระหายน้ำลดลง ถ้าเลือดเจือจางไฮโพทาลามัสจะยับยั้งการหลั่ง ADH ทำให้การดูดน้ำกลับคืนมีน้อย ปริมาณน้ำในร่างกายจึงมีภาวะสมดุล
ADH เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วาโซเปรสซิน

ที่มาของข้อมูล :: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=200980


ตอบ 2
อธิบายข้อสอบ :: ใน alcohol จะมีสารจำพวกไดยูเรติก ซึ่งเป็นสารขับปัสสาวะ นอกจากใน alcohol แล้ว เรายังพบสารไดยูเรติกในสารคาเฟอีน (ซึ่งพบได้ในกาแฟ ชา ช็อกโกแล็ต น้ำอัดลมประเภทโคล่า)
การที่ดืมแอลกอฮอล์แล้วปัสสาวะออกมามากก็เพราะ แอลกอฮอล์ไปยับยั้งการทำงานของฮอน์โมน vasopressin หรือ Antidiuretic hormone (ADH) เพราะ ADH มีหน้าที่ควบคุมการดูดกลับของน้ำ ถ้าปกติแล้วเราจะขับปัสสาวะในปริมาณที่เป้นปกติในแต่ละวัน แต่ถ้าเมื่อใดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เข้าไปมาก ๆ มันก็จะไปยับยั้งการทำงานของ ADH ทำให้มันสับสนและเกิดความแปรปรวน แทนที่จะดูดน้ำกลับ แต่ก็ไม่สามารถควบคุมในส่วนหน้าที่นี้ได้จึงทำให้ควบคุมการปัสสาวะไม่ได้ จึงปล่อยน้ำออกมาบ่อยหรือในปริมาณมากนั่นเอง

ที่มาของข้อมูล :: http://webboard.sanook.com/forum/3221483_16217728


ตอบ 3
อธิบายข้อสอบ ::  เลือดไม่เป็นกรดเพราะเลือดเป็นสารละลายบัฟเฟอร์ และกรดที่อยู่ในน้ำส้มนั้นเป็นกรดอ่อนและมีน้อยมาก - เมื่อไวรัสเข้าไปในร่างกายเราร่างกายจะสร้าง แอนติบอดีมาจัดการ



ตอบ 1
อธิบายข้อสอบ ::  เชื้อไวรัส โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่รักษาได้ยากมากส่วนใหญ่มักจะตัดส่วนที่เป็นโรคหรืออาจทำลายทั้งต้น โดยการเผาก็ได้ อาการที่พบอยู่บ่อย ๆ คือ อาการที่ใบและลำต้น จะมีจุดเขียวคล้ำ ในหงิกงอหรือใบด่าง มีผลทำให้เนื้อเยื่อในส่วนที่ถูกทำลาย ค่อย ๆ ตายลงที่ละน้อย การเข้าสู่พืชของเชื้อไวรัส จะอาศัแปลงปากดูด เพลี้ยต่างๆ หรือบางครั้งอาจติดมากับวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้งานก็ได้ 


ที่มาของข้อมูล ::  http://www.maipradabonline.com/saramaipradab/kex2.htm


ตอบ 4
อธิบายข้อสอบ :: เมื่อร่างกายได้รับเชื้อไวรัส ระบบภูมิคุ้มกันจะทำหน้าที่ป้องกันตัวเอง โดยพยายามขจัดสิ่งแปลกปลอม อีกทั้งทำลายแอนติเจนแปลกปลอม ที่ร่างกายได้รับจากภายนอก  โดยทั่วไปการติดเชื้อไวรัสก็เช่นเดียวกับการติดเชื้ออื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือการติดเชื้อรา  กล่าวคือ แอนติเจนของไวรัสจะเข้าสู่ร่างกาย เปรียบเสมือนข้าศึกบุกเข้าโจมตีฐานที่ตั้ง ร่างกายจะใช้กลไกหลายชนิด ในการป้องกันการรุกรานของเชื้อไวรัส


ที่มาของข้อมูล ::  http://healthylife888.blogspot.com/2010/02/blog-post_2329.html



ตอบ 2
อธิบายข้อสอบ :: สาหร่ายหางกระรอกเป็นพืชน้ำจืด เมื่อเจอน้ำเกลือจะทำให้เซลล์เหี่ยวเพราะน้ำออสโมซิสออกไปจากเซลล์ ในข้อนี้หากนำไปแช่ในน้ำกลั่น น้ำเชื่อม น้ำนมสด และแอลกฮอล์ ที่ไม่ทราบความเข้มข้นนั้น เซลล์มีโอกาสจะเหี่ยวได้เหมือนกัน แต่จะเหี่ยวเร็วที่สุดในแอลกฮอล์ เพราะมีความแตกต่างในปริมาณน้ำมากที่สุด


ที่มาของข้อมูล ::  http://th.wikipedia.org/wiki/



ตอบ 4
อธิบายข้อสอบ :: ดีเอ็นเอเป็นสารพันธุกรรมที่สามารถพบได้ในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ โดยมมีนิวเคลียสเป็นแหล่งดีเอ็นเอหลักของเซลล์ เรียกว่า ยีโนมิกดีเอ็นเอ (genomic DNA) นอกจากนี้ยังสามารถพบดีเอ็นเอได้ในออร์แกร์เนลล์ต่าง ๆ ที่อยู่ในไซโทพลาสซึมของเซลล์ โดยเซลล์พืชพบในคลอโรพลาสต์ (chloroplast) และไมโทคอนเดรีย(mitochondria) ส่วนเซลล์สัตว์จะพบในไมโทคอนเดรียเท่านั้น
หน้าที่หลักของดีเอ็นเอ คือ การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต พัฒนาการและการทำงานของเซลล์และเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมถึงการส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับลักษณะของรุ่นพ่อแม่ไปสู่รุ่นลูก ซึ่งการเก็บข้อมูลของดีเอ็นเอเกิดขึ้นได้ โดยอาศัยการจัดเรียงลำดับของนิวคลีโอไทด์ที่มีไนโตรเจนเบสแตกต่างกันทำให้เกิดเป็นรหัสข้อมูลลักษณะสิ่งมีชีวิตที่แตกต่างกัน 64 แบบ


ที่มาของข้อมูล :: http://www.thaibiotech.info/what-is-dna.php


ตอบ 3
อธิบายข้อสอบ ::  หมู่เลือด ABO เป็นระบบที่คุ้นเคยกันดี ในระบบนี้ แบ่งออกเป็น 4 หมู่ คือ A, B, AB และ O ซึ่งจะถูกกำหนดโดยโปรตีนที่เกาะบนผิวของเม็ดเลือดแดง โดยสารโปรตีนนี้คือ
‘แอนติเจน'' (Antigen) เป็นตัวจำแนกหมู่เลือด ในระบบ ABO มีอยู่ 2 ชนิดคือสารโปรตีน A (Antigen-A) และสารโปรตีน B (Antigen-B)
ในกรณีที่คุณแม่ต้องการทราบว่าลูกมีหมู่เลือดใดในระบบ ABO สามารถคำนวณได้เองคร่าวๆ จากหมู่เลือดของคุณพ่อและคุณแม่ ได้ดังนี้ 

หมู่เลือด A + A
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
หมู่เลือด B + B
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
หมู่เลือด AB + AB
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ AB หรือ B
(ยกเว้น O)
หมู่เลือด O + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
หมู่เลือด A + B
= มีโอกาสได้ลูกเป็นหมู่เลือดใดก็ได้ ได้ทุกหมู่
หมู่เลือด A + AB
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ AB หรือ B
(ยกเว้น O)
หมู่เลือด B + AB
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ AB หรือ B
(ยกเว้น O)
หมู่เลือด AB + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ B 
หมู่เลือด A + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O
หมู่เลือด B + O
= มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
เลือดแม่-ลูก..ไม่เข้ากันการเกิดภาวะเลือดแม่และเลือดลูกไม่เข้ากันในระบบหมู่เลือด ABO มีสาเหตุจากแอนติบอดี้ในน้ำเลือดของคุณแม่สามารถซึมผ่านรกเข้าไปในเลือดของลูกในครรภ์ ซึ่งหากคุณแม่มีหมู่เลือด O ก็จะมีแอนติบอดี้ A และ B ผ่านไปยังลูกได้ ในกรณีนี้ถ้าลูกมีหมู่เลือด A, B หรือ AB ก็จะถูกแอนติบอดี้ที่ผ่านรกเข้าไปในเลือดของลูกทำลายทำให้เม็ดเลือดของลูกแตก แต่การไม่เข้ากันของเลือดแม่และลูกในหมู่เลือด ABO มักมีอาการไม่รุนแรงนัก มีเพียงร้อยละ 5 เท่านั้นที่เม็ดเลือดแดงของลูกแตกมากจนทำให้มีการปล่อยสารที่อยู่ในเม็ดเลือดแดงหรือ ‘บิลิรูบิน'' (billirubin) สารที่มีสีเหลืองออกมาในกระแสเลือดมาเกาะที่ผิวหนังและเยื่อบุตาขาว ทำให้ทารกมีอาการตัวเหลือง ตาเหลืองหลังคลอดได้ แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลเพราะมีโอกาสที่ทารกได้รับอันตรายหรือเสียชีวิตในครรภ์น้อยมาก การไม่เข้ากันของเลือดแม่ และเลือดลูกชนิด ABO นี้พบได้บ่อยถึงประมาณร้อยละ 20 ของการตั้งครรภ์ และพบได้ตั้งแต่การตั้งครรภ์ครั้งแรกเลย


ที่มาของข้อมูล :: http://www.khontai.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=531


ตอบ 4
อธิบายข้อสอบ :: ลักษณะทั่วไป
เป็นโรคเลือดชนิดหนึ่งที่มีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ ทำให้ร่างกายสร้าง
เม็ดเลือดแดงที่มีลักษณะผิดปกติ จึงมีการแตกสลายเร็วกว่าที่ควร ทำให้มี
อาการซีดเหลืองเรื้อรัง ผู้ที่มีอาการแสดงของโรคนี้ จะต้องรับกรรมพันธุ์ที่
ผิดปกติมาจากทั้งฝ่ายพ่อและแม่ (ซึ่งอาจไม่มีอาการแสดง) ถ้ารับจากฝ่าย
ใดฝ่ายหนึ่งเพียงฝ่ายเดียว จะไม่มีอาการแสดง แต่จะมีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติ
อยู่ในตัวและสามารถถ่ายทอดไปยังลูกหลานต่อไป

ในบ้านเราพบว่ามีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติของโรคนี้ โดยไม่แสดงอาการเป็น
จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคนอีสาน อาจมีถึง 40% ของประชากร
ทั่วไปที่มีกรรมพันธุ์ของโรคนี้ ส่วนผู้ที่มีอาการของโรคนี้อย่างชัด ๆ มี
ประมาณ 1 ใน 100 คน โรคนี้อาจแบ่งออกเป็นหลายชนิด ซึ่งมีความรุนแรง
มากน้อยแตกต่างกันไป

สาเหตุ
เกิดจากความผิดปกติทางกรรมพันธุ์

อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเหลืองและตับม้ามโตมาตั้งแต่เด็ก ร่างกายเติบโตช้า 
ตัวเตี้ย และน้ำหนักน้อยไม่สมอายุ  ในรายที่เป็นทาลัสซีเมียชนิดอ่อนที่เรียก
ว่า โรคฮีโมโกลบินเอช (Hemoglobin H disease) ตามปกติจะไม่มีอาการ
ผิดปกติแต่อย่างไร    แต่จะมีอาการซีดเหลืองเป็นครั้งคราวขณะที่เป็นหวัด 
เจ็บคอ หรือเป็นโรคติดเชื้ออื่น ๆ แบบเดียวกับโรคโลหิตจางจากเม็ดเลือด
แดงแตก

สิ่งตรวจพบ
ผู้ป่วยจะมีอาการซีดเหลือง หน้าแปลก โดยมีสันจมูกแบะ (จมูกแบน) หน้า
ผากโหนกชัน กระดูกแก้มและขากรรไกรกว้างใหญ่ ฟันยื่นเขยิน ลูกตาอยู่
ห่างกันมากกว่าคนปกติ ลักษณะเช่นนี้เรียกว่า หน้ามงโกลอยด์หรือ หน้า
ทาลัสซีเมีย ผู้ป่วยมักจะมีม้ามโตมาก บางรายอาจโตถึงสะดือ (คลำได้ก้อน
แข็งที่ใต้ชายโครงซ้าย) อาการม้ามโต ชาวบ้านอาจเรียกว่า ป้าง หรือ 
อุปถัมภ์ม้ามย้อย (จุกกระผามม้ามย้อย)

ที่มาของข้อมูล :: http://www.thailabonline.com/sec9thal.htm

4 ความคิดเห็น:

  1. 120 คะเเนนเต็ม ค่ะ

    ตั้งใจทำมากกก :)

    ตอบลบ
  2. ทำงานเรียบร้อยดีค่ะ

    มีเเหล่งที่มา

    มีคำอธิบาย

    ตรงตามที่อาจารย์สั่ง

    ให้คะเเนน 120 คะเเนนเต็ม จร้า

    ตอบลบ
  3. เรียบร้อยดีค่ะ 120 คะแนนเต็มค่ะ

    ตอบลบ
  4. คะแนนที่ได้ ได้แก่ 70 คะแนน

    รวมการบ้านอีก 50 ก้เอาไปเต็มละกัล 120 จร๊

    ตอบลบ